เสาเข็มเจาะคือ
เสาเข็มเจาะ คือการเจาะลงไปใต้พื้นดิน และเทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะขึ้นรูปเป็นเสาเข็มรูปเสา เมื่อปูนก่อตัวแห้ง มีหน้าที่แบกรับนํ้าหนักเป็นฐานรากของอาคารตึกรามบ้านเรือนต่างๆ ซึ่งขนาดและจำนวนแล้วแต่เงื่อนไขสภาพแวดล้อมและความต้องการของเจ้าของโครงการ
เสาเข็มที่เรารู้จักเห็นกันทั่วไปตามท้องถนน หรือโครงการใหญ่ๆ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ทางด่วน จะเป็นแบบเสาเข็มตอกหรือที่เรียกว่าเสาเข็มตอก คือใช้เครื่องจักรตอกลงไปในดิน ซึ่งข้อดีของเสาเข็มตอกก็คือ เสาเข็มตอกจะผลิตสำเร็จรูปมาจากโรงงาน เราสามารถตรวจสอบสภาพได้ แต่ข้อเสียก็คือ อย่างที่เราทราบกัน เวลาตอกลงไปในพื้นดินแต่ละที่ดังสะเทือนไปทั่วเมือง มีความสั่นกระเทือนมาก ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้บริเวณหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นชุมชน เพราะทำให้เกิดเสียงดังและบ้านเรือนและอาคารใกล้เคียงอาจจะเกิดรอยร้าวได้
เสาเข็มจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ นั่นเอง นอกจากนี้เสาเข็มเจาะยังแบ่งออกเป็นเสาเข็มเจาะแบบแห้ง และเสาเข็มเจาะแบบเปียก อีกด้วย
เสาเข็มชนิดเจาะนั้น เป็นเสาเข็มชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักของอาคาร บ้านเรือน ลงสู่ดินที่อยู่ลึกลงไปจนถึงปลายเสาเข็มเพื่อเป็นแรงต้าน หรือเพื่อใช้การรับน้ำหนักของอาคารบ้านเรือน หรือ ตึกอาคารพาณิชย์ คอนโด ตึกแถว บ้านเดี่ยว ฐานเครื่องจักร เสาป้าย แท่นเครื่องจักร ถังไซโล ฯลฯสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ชนิดแห้ง และชนิดเปียก
ชนิดของเสาเข็ม เสาเข็มโดยทั่วไปจะแยกออกได้เป็นสำคัญ 2 ประเภทคือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ
1. เสาเข็มตอกทั่วไป จะมีหน้าตาต่าง ๆ กัน บางทีก็เป็นสี่เหลี่ยม บางทีก็เป็นหกเหลี่ยม บางทีก็เป็นรูปตัวไอ ซึ่งทุกอย่าง จะมีหน้าตัดตันทั้งต้น เวลาตอก ก็ตอกลงไปง่าย ๆ อย่างที่เราเห็นกันโดยทั่วไป
2. เสาเข็มกลมกลวง เป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงได้มากกว่าเสาเข็มแบบแรก เพราะสามารถ ทำให้โตกว่าได้ ผลิตโดยการปั่นหมุนคอนกรีต ให้เสาเข็มออกมา กลมและกลวง เวลาติดตั้ง ส่วนใหญ่ จะขุดเป็นหลุมก่อน แล้วกดเสาเข็มลงไป พอถึงระดับที่ต้องการจึงจะเริ่มตอกทำให้มีส่วนของเสาเข็มไปแทนที่ดินน้อยลง (ดินถูกขุดออกมาบางส่วนแล้ว) อาคารข้างเคียงเดือดร้อนน้อยลง จากการเคลื่อนตัวของดิน (แต่ความดัง ฝุ่นละออง และความสะเทือน ก็ยังคงอยู่)
3. เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 20 เมตร (แล้วแต่ ระดับ ชั้นทราย) รับน้ำหนักต่อต้น ได้ไม่เกิน 120 ตัน วิธีการคือเจาะดินลงไป (แบบแห้ง ๆ ) แล้วก็หย่อนเหล็ก เทคอนกรีต ลงไปในหลุม ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่ามาก ทั้งเรื่องการ เคลื่อนตัวของดิน ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้ ในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น
4. เสาเข็มเจาะแบบเปียก ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึก ๆ แล้วใส่สารเคมีลงไปเคลือบผิวหลุมดิน ที่เจาะ ทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดินและดันดินไม่ให้พังทลายลงเวลาเจาะลึกๆ(ซึ่งสามารถเจาะได้ลึกถึงกว่า 70 เมตร) รับน้ำหนักได้มากและเกิดมลภาวะน้อย ราคาแพง
เสาเข็มเจาะแบบ 3 ขา ชนิดนี้ใช้เครื่องมือขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายง่าย ทำงานได้ภายในบริเวณจำกัด เช่นใต้เพดานต่ำๆ ในซอกแคบ หรือมุมตึก ซึ่งปั้นจั่นไม่สามารถเข้าไปตอกเสาเข็มได้
อุปกรณ์หลักประกอบด้วย ขาตั้ง 3 ขา (Tripod) ซึ่งปรับสูง-ต่ำ กว้าง-แคบได้ ปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing) กระเช้าตักดิน (Bucket), ลูกตุ้ม(Cylindrical Hammer) และเครื่องกว้านลม (Air Winch)
ลักษณะงานที่ใช้เสาเข็มเจาะ
- งานฐานรากที่ต้องระวังแรงสั่นสะเทือนอันอาจเกิด อันตรายต่ออาคารข้างเคียง ใช้แทน เสาเข็มตอก
- งานฐานรากในบริเวณพื้นที่จำกัดคับแคบ ใต้อาคาร
- งานแก้ไขฐานรากอาคาร โดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม
- งานฐานรากเสริมแท่นเครื่องจักร
- งานฐานรากขยายต่อเติมจากอาคารเดิม
เสาเข็มเจาะ รับเจาะเสาเข็ม เสาเข็มเจาะระบบแห้ง คำถาม-ตอบบ่อยๆ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณ ชรินทร์ 081-816-1361, 090-998-9894
หจก.สุวรรณกิจเข็มเจาะ แอนด์ คอนสตรัคชั่น
808 ถนนจันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพ 10120
Tel: 02-212-4745, 090-998-9894
Fax: 02-212-4745
E-mail: suwankit.thailand@hotmail.com
http://www.รับทําเสาเข็มเจาะ.net/
http://www.xn--22cm7bl1bi5cvccmbd0pcc4i6d.net